นิราศนรินทร์คำโคลง
แต่งขึ้นโดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) มหาดเล็กหุ้มแพร
รับราชการวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๒ นายนรินทรธิเบศร์แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาที่เมืองถลางและชุมพร
โดยเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์
แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป
นิราศเรื่องนี้นับว่าเป็นนิราศที่มีสำนวนโวหารไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์
จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง
เหมาะสำหรับการนำไปเป็นแบบอย่างในการประพันธ์โคลงที่มีเนื้อหาเป็นการพรรณนาอารมณ์
ความรัก และธรรมชาติ ที่คงรูปแบบทางฉันทลักษณ์ของร้อยกรองไทยได้เป็นอย่างดี หนังสือประเภทนิราศ
สันนิษฐานว่ามีมาช้านานและปรากฏในหลายชาติภาษา หนังสือที่แต่งตามขนบของนิราศนั้นมีปรากฏมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
เช่น แต่งสมัยพระเจ้าปราสาททอง, แต่งในเมฆทูตสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนอกจากนี้ยังมีโคลงทวาทศมาส

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น