1.การใช้คำ
กวีใช้คำที่งดงามทั้งรูป ความหมายและเสียงที่ไพเราะ โดยเฉพาะร่ายสดุดีที่มีลักษณะเด่นสะดุดความสนใจมีการเลือกสรรคำที่เหมาะกับเนื้อเรื่อง
1.1 เลือกสรรคำที่เหมาะกับเนื้อเรื่อง
-แย้มฟ้า เป็นคำที่ใช้ง่ายที่มีรูปคำงาม เสียงไพเราะ มีความหมายดี และให้ภาพที่ชัดเจนว่ากรุงรัตนโกสินทร์เผยโฉมเด่นอยู่บนท้องฟ้า
1.2 การเลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ
-สัมผัส มีการเล่นเรียงสัมผัสทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษรภายในวรรคและระหว่างวรรคเพื่อความไพเราะเช่น
ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ สงสาร อรเอย
จรศึกโศกมานาน เนิ่นช้า
เดินดงท่งทางละหาน หิมเวศ
สารสั่งทุกหย่อมหญ้า ย่านน้ำลานาง
สัมผัสสระ หน่ำ-ซ้ำ ดง-ท่ง
สัมผัสอักษร สง-สาร เดิน-ดง ท่ง-ทาง สาร-สั่ง หย่อม-หญ้า ตระนาว-ตระหน่ำ
สัมผัสระหว่างวรรค ซ้ำ-สง(สาร) นาน-เนิ่น หาน-หิม(เวศ) หญ้า-ย่าน
-การเล่นคำ มีการใช้คำเดียวกันซ้ำหลายแห่งในบทประพันธ์ แต่คำที่ซ้ำกันนั้นมีความหมายต่างกันเช่น
เห็นจากจากแจกก้าน แกมระกำ
ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
บาปใดที่โททำ แทนเท่า ราแม่
จากแต่คาบนี้หน้า พี่น้องคงถนอม
จาก ซึ่งหมายถึง ต้นจาก และการจากลา
กำ ซึ่งหมายถึง ต้นระกำ ความระกำช้ำใจ และเวรกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น